คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
การบินไทยตระหนักถึงความสำคัญของท่านลูกค้า และท่านสมาชิก ROP และตั้งใจที่จะให้ลูกค้าสามารถใช้ไมล์สะสมได้ต่อไปตามปกติ แต่เนื่องจากติดข้อจำกัดทางกฎหมาย ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงต้องระงับการใช้สิทธิบางประการไว้ชั่วคราว เช่น รางวัลบัตรโดยสารและรางวัลอัพเกรดชั้นโดยสารของสายการบินพันธมิตร Star Alliance และรางวัลบัตรกำนัลห้องพักโรงแรม เป็นต้น อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงเปิดให้สมาชิกสามารถใช้ไมล์สะสมแลกเป็นรางวัลบัตรโดยสารและอัพเกรดชั้นโดยสารของการบินไทย และรางวัลบัตรโดยสารสายการบินไทยสมายล์ได้ เมื่อการบินไทยและไทยสมายล์กลับมาให้บริการตามปกติ ในกรณีที่สมาชิก Royal Orchid Plus ที่แลกรางวัลบัตรกำนัลห้องพักโรงแรม รางวัลไลฟ์สไตล์บางประเภท รวมถึงรางวัลบัตรโดยสารและรางวัลอัพเกรดชั้นโดยสารของสายการบินพันธมิตร Star Alliance และยังไม่ได้ใช้บริการดังกล่าว ท่านสามารถขอคืนรางวัลเพื่อรับคืนไมล์สะสมได้ โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการคืนรางวัลดังกล่าว และหากมีไมล์ในส่วนที่เป็นไมล์หมดอายุจะได้รับการต่ออายุไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 อย่างไรก็ดี การขอคืนค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของรางวัลบัตรโดยสารและรางวัลอัพเกรดชั้นโดยสารของสายการบินพันธมิตร Star Alliance นั้น ทางบริษัทฯ ยังไม่สามารถชำระคืนเงินดังกล่าวได้ในขณะนี้เนื่องจากติดข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาข้อจำกัดดังกล่าวโดยเร่งด่วน
กระบวนการในการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ
ในช่วงแรก นับตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา หรือวันที่บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ไปจนถึงวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในวันที่ 17 ส.ค. 2563 ในช่วงนี้ การบินไทยจะอยู่ภายใต้สภาวะบังคับชั่วคราว หรือ automatic stay เหตุที่ผมใช้คำว่า “สภาวะบังคับชั่วคราว” โดยไม่ได้ใช้คำว่า “สภาวะพักการชำระหนี้” เนื่องจาก ผลของ automatic stay นอกจากจะทำให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับคดีกับทรัพย์สินของการบินไทยไม่ได้แล้ว การบินไทยก็ถูกห้ามไม่ให้ก่อหนี้หรือชำระหนี้ เว้นแต่หนี้ที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการในทางการค้าปกติของการบินไทยดำเนินต่อไปได้ ซึ่งมีผลบังคับไปตลอดจนกว่าคดีฟื้นฟูกิจการจะเสร็จสิ้น ในการไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยศาลล้มละลายกลาง โดยหลักการแล้วจะมีการไต่สวนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) สถานะทรัพย์สิน หนี้สิน และความสามารถในการชำระหนี้ (2) มีเหตุสมควรให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของการบินไทยหรือไม่ (3) บุคคลที่การบินไทยเสนอสมควรเป็นผู้ทำแผนหรือไม่ หากศาลไต่สวนได้ความจริงตามองค์ประกอบดังกล่าว ศาลก็จะมีคำสั่งให้ การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนตามที่เสนอ ซึ่งก็จะเข้าสู่ช่วงที่สองของกระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไป
ช่วงที่สอง หรือช่วงตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน ไปจนกระทั่งถึงช่วงที่มีการจัดทำแผนแล้วเสร็จและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน โดยในช่วงนี้จะใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจนถึงหนึ่งปี หรืออาจเร็วกว่านั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง การได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากเจ้าหนี้ของการบินไทย ในการให้ความเห็นชอบหรือไม่มีการคัดค้านผู้ทำแผนที่บริษัทฯ เสนอ รวมถึงการพิจารณาเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการที่จะถูกจัดทำขึ้นโดยผู้ทำแผนดังกล่าว
ช่วงสุดท้าย เป็นเรื่องการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ทั้งลูกหนี้และศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผนแล้ว โดยผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการในส่วนนี้ คือผู้บริหารแผนที่ศาลตั้ง ซึ่งมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี โดยขอขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี สรุปโดยรวมคือไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลฯ เห็นชอบด้วยแผน การฟื้นฟูกิจการจะแล้วเสร็จเมื่อมีการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จ ตามแนวทางการฟื้นฟูกิจการต่าง ๆ เช่น การแปลงหนี้เป็นทุน การชำระหนี้บางส่วน หรือการลด/เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เป็นต้น
การจัดประเภทเจ้าหนี้จะอยู่ในช่วงที่สอง ของคำตอบที่ 2 โดยการจัดประเภทเจ้าหนี้นี้ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนที่ศาลจะแต่งตั้ง ซึ่งตามกฎหมายผู้ทำแผนจะต้องทำแผนให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ประกาศคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผน โดยขอขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละ 1 เดือน ดังนั้น ภายใน 5 เดือน เจ้าหนี้ก็จะได้เห็นแผนฟื้นฟูกิจการและการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ และ ความร่วมมือของเจ้าหนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเจ้าหนี้ต้องเป็นคนลงมติว่าจะยอมรับแผนหรือไม่
ในระยะสั้น การบินไทยติดตามและประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง และประเมินความพร้อมในการกลับมาเปิดให้บริการในเส้นทางการบินต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งระยะเวลาในการกลับมาเริ่มบินจะขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยที่การบินไทยจะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งรวมถึงอุปสงค์ของการเดินทางทางอากาศ และข้อกำหนดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการบินไทยจะต้องนำมาพิจารณา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสาร และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งในระหว่างนี้ การบินไทยก็มีการปรับลดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและบริหารกระแสเงินสดอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาสภาพคล่องไว้ให้ได้มากที่สุด
การบินไทยไม่ได้อยู่ในสถานะรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังจึงไม่สามารถให้การสนับสนุนความช่วยเหลือทางการเงินหรือค้ำประกันเงินกู้ให้กับการบินไทยได้โดยตรง แต่ในระหว่างนี้การบินไทยยังสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางก่อน แต่เจ้าหนี้ดังกล่าวจะไม่มีบุริมสิทธิในการขอรับชำระหนี้หรือไม่มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้รายอื่นในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
การเลือกใช้สิทธิ refund ตั๋วโดยสารหรือเลื่อนตั๋วเดินทาง เป็นสิทธิของลูกค้าตามเงื่อนไขการออกบัตรโดยสาร บริษัทฯ จึงไม่มีนโยบายระงับสิทธิลูกค้าในการยื่นเรื่องขอ refund ตั๋วโดยสาร โดยบริษัทฯ ยังเปิดรับเรื่องลูกค้า refund ตั๋วโดยสารอยู่ แต่การจ่ายเงินคืนให้กับลูกค้าในขณะนี้ ยังกระทำไม่ได้ เพราะติดขัดข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งบริษัทฯ ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะดูแลลูกค้าที่ขอคืนบัตรโดยสารอย่างดีที่สุดภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยจะแจ้งสิทธิของท่านผ่านช่องทางต่างๆ ต่อไป บริษัทฯ ยังไม่สามารถประกาศนโยบายที่ชัดเจนได้ในขณะนี้เพราะแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ จะจัดทำขึ้นโดยผู้ทำแผนที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาล บริษัทฯ จึงไม่ใช่ผู้ทำแผน การประกาศนโยบายใด ๆ จึงต้องมีความระมัดระวังให้อยู่ในกรอบอำนาจของบริษัทฯ
ในปัจจุบัน ที่ปรึกษากฎหมายได้ดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าเครื่องบินเพื่อให้เจ้าหนี้ยอมผ่อนผันการชำระหนี้ อันจะทำให้การบินไทย มีเครื่องบินที่สามารถนำมาใช้งานได้โดยไม่ถูกยึด และในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการขอให้ศาลในต่างประเทศ “ให้รับรองการฟื้นฟูกิจการและผลของการมีสภาพบังคับ (Recognition of the Company’s Business Reorganization Proceedings in Thailand)” เพื่อคุ้มครองป้องกันทรัพย์สินของการบินไทยในประเทศต่าง ๆ คู่ขนานกันไป โดยปัจจุบันยังไม่เครื่องบินของการบินไทยลำใดถูกยึด
ในเรื่องการยื่น Chapter 11 ต่อศาลในสหรัฐอเมริกานั้น ในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะการเจรจากับหนี้ต่างประเทศของการบินไทยในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ดี ทางทีมที่ปรึกษากฎหมายก็ยังไม่ได้ตัดทางเลือกในการยื่น chapter 11 นี้แต่อย่างใด
ในปัจจุบัน ยังไม่มีเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าเครื่องบิน หรือ lessor รายใดยกเลิกสัญญา แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้/เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ก็จะต้องมี การส่ง Notice หรือหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้มาตามขั้นตอนของกฎหมายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ณ ขณะนี้ ยังไม่มีเจ้าหนี้รายใดเลิกสัญญาเช่าเครื่องบินของการบินไทย
การปรับโครงสร้างองค์กรขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูซึ่งจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ทำแผนต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างองค์กร ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม แผนฝูงบินในอนาคต เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์กับผู้โดยสารและการบินไทยมากที่สุด
- เหตุผลที่ต้องซื้อ อายุเฉลี่ยของฝูงบิน ปี 2561-2570 เกิน 20 ปี และประสบกับปัญหาเครื่องยนต์ที่ทางผู้ผลิตไม่สามารถซ่อมได้ตามกำหนดเวลา ทำให้เครื่องบินไม่เพียงพอในการให้บริการ ส่งผลให้กำลังการผลิตลดลง โอกาสในการทำรายได้ลดลง ประกอบกับภาพรวมอุตสาหกรรมการบิน และความต้องการการเดินทางยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่ทำอะไร เราจะสูญเสียตลาดไปในที่สุด การจัดหาในครั้งนี้เพื่อทดแทน จำนวน 31 ลำ และขยายกำลังการผลิต จำนวน 7 ลำ
- เอาเงินจากไหนมาซื้อ –> ผลประกอบการของบริษัทฯ (กรณีมีกำไร), เงินกู้, เงินทุนจากการเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นเก่าและผู้ถือหุ้นใหม่
- การจัดหาเงินทุนนั้น ทางการบินไทยดำเนินการเอง โดยไม่ได้ใช้เงินภาษี
บกท. ยังคงมีเครื่องบินรุ่นเก่าที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี เช่น Boeing 747-400 จำนวน 10 ลำ, 777-200 จำนวน 6 ลำ, 777-300 จำนวน 6 ลำ เป็นเครื่องบินที่มีอัตราการใช้น้ำมันสูงและมีค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสูง บกท. มีเครื่องบินและเครื่องยนต์หลากหลายแบบ รวมถึงการมีเครื่องบินขนาดใหญ่จำนวน 83 ลำ ซึ่งต้องนำมาทำการบินในเส้นทางบินระยะสั้นทั้งหมด จึงทำให้ค่าซ่อมบำรุงยังอยู่ในเกณฑ์สูง
การบินไทยถือหุ้นไทยสมายล์ 100% ดังนั้นผลประกอบการจึงต้องรายงานแบบงบรวม เมื่อใครขาดทุน ก็จะกระทบกับอีกบริษัทหนึ่งแน่นอน ดังนั้นเมื่อร่วมมือกันทำให้ผลประกอบการดีทั้งคู่ จะได้ประโยชน์ทั้งคู่
การบินไทยใช้ไทยสมายล์เป็นยุทธศาสตร์ในการต่อสู้และจับกลุ่มผู้โดยสารที่บินระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก และปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในอย่างชัดเจน เป็นการบริหารงาน ที่ integrate การทำงานของทั้งการบินไทยและไทยสมายล์เข้าด้วยกัน ซึ่งจะเกิดผลที่ดีต่อทั้งบริษัทและผู้โดยสาร การบริหารเส้นทางบินและการเชื่อมต่อจุดบินอย่างเป็นระบบ สะดวกสบายสำหรับผู้โดยสาร และมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรวดเร็ว
มนตรา เป็นโครงการที่จะฟื้นฟูแบบเร่งด่วน ปี 2562-2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบินไทยหลุดพ้นจากกับดัก ซึ่งโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการมนตรานั้น ยังดำเนินการตามแผนและผลลัพธ์แสดงผลใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็น โครงการการจัดหาเครื่องบิน การควบคุมค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงตามสัญญา การเพิ่มรายได้โดยใช้ Digital Marketing เป็นต้น แต่ในส่วนที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายคือโครงการทางด้านรายได้จากการขนส่ง
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ และคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อดำเนินการในการจัดหาเครื่องบิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยแต่ละคณะฯ จะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน และจะได้เชิญตัวแทนจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในขั้นตอนต่อไปของการจัดหาเครื่องบินอีกด้วย
สาเหตุสำคัญเนื่องจากปริมาณการผลิตลดลง รวมทั้งผลกระทบจากการปิดน่านฟ้าของสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน การลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยวที่เป็นผลจากการแข่งขันที่รุนแรงด้านราคาจากสงครามทางเศรษฐกิจและการค้า ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน และความล่าช้าของการซ่อมเครื่องยนต์ของทางผู้ผลิต
เมื่อพิจารณา การขาดทุนของการบินไทยเป็นกับดักวงจรอุบาทว์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์บนเครื่องรุ่นเก่าที่เป็นรอง เมื่อเทียบกับคู่แข่ง -> ทำให้เกิดปัญหาด้านการบริการไม่ consistency ลูกค้าไม่พึงพอใจ-> ส่งผลถึงผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้า
ในส่วนของ Mobile Application สามารถเพิ่มรายได้ โดยการนำเสนอสิทธิพิเศษ สิทธิประโยชน์ ให้กับผู้โดยสารของการบินไทยมากขึ้น โดยการเสนอการขายผลิตภัณฑ์เสริม (Ancillary Product) อาทิ น้ำหนักสัมภาระกระเป๋า ประกันภัยการเดินทาง รถรับส่งสนามบิน รถเช่า โรงแรม เป็นต้น รวมทั้งเพิ่มภาษาต่างๆ และปรับเปลี่ยนหน้า Mobile Application ให้เข้าถึงผู้โดยสารในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น
คณะกรรมการบริษัทฯ และครอบครัว ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ในปี 2557 ให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
เป็นไปตาม มติ ครม. วันที่ 2 กรกฏาคม 2556 เรื่องอัตราค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจ และมติของผู้ถือหุ้น บริษัท การบินไทย จำกัด